ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม
เกษตรกรรม
จังหวัดสุพรรณบุรีถือได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก มีแหล่งน้ำธรรมชาติ การชลประทานเหมาะสมแก่การเกษตร พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า การเกษตรกรรมสำคัญได้แก่ การกสิกรรม การทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นอาชีพหลักของประชาการมากกว่าร้อยละ 80-พื้นที่ทำการเกษตรในอำเภอสองพี่น้อง มีพื้นที่ใช้ประโยชน์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 14.45 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด รองลงมาได้แก่พื้นที่ในอำเภออู่ทอง ร้อยละ 13.69
- พื้นที่ทำนา ในอำเภอบางปลาม้า มีพื้นที่ทำนามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.67 ของพื้นที่ทำนาทั้งหมด เนื่องจากสภาพพื้นที่ อากาศ น้ำ ที่เอื้ออำนวยสำหรับการเพาะปลูก รองลงมาได้แก่ พื้นที่ในเขตอำเภอ สองพี่น้อง ร้อยละ 14.46
- พืชไร่ อำเภอที่มีพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่มากที่สุด ได้แก่อำเภอด่านช้าง คิดเป็นร้อยละ 37.27 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำพืชไร่ โดยเฉพาะการปลูกอ้อย มันสำปะหลังข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ รองลงมาเป็นพื้นที่ในอำเภออู่ทอง 18.47
อุตสาหกรรม
ในปี 2553 มีโรงงานอุตสาหกรรมที่คงอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำนวน 1,110 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.42 เงินลงทุน 29,996 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.80 มีผู้ประกอบการขอยื่นจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2553 จำนวน 37 แห่ง เงินทุน 1,092 ล้านบาท ตั้งกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อู่ทอง ศรีประจันต์ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรม ประเภทอุตสาหกรรม สิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และเครื่องจักรกล เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางมีการ จ้างงานไม่เกิน 100 คน และมีโรงงานขนาดเล็ก และโรงสีขนาดใหญ่และขนาดกลาง จำนวน 100 กว่าแห่ง โรงงานที่มีกำลังการผลิตเกินกว่า 200 ตัน / วัน เช่นโรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร โรงงานผลิตรองเท้าและอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ การอุตสาหกรรม เป็นภาคการผลิตที่เป็น แหล่งรายได้ที่สำคัญของจังหวัด รองลงมาจากภาคการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญร้อยละ 25.32 ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรีรองมาอยู่ในเขตอำเภออู่ทองร้อยละ 18 และอยู่ในเขตอำเภอสองพี่น้องร้อยละ 12 จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มีความได้เปรียบและความพร้อมด้านวัตถุดิบ แรงงานและสาธารณูปโภคกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง โรงงานอุตสาหกรรมจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี มีจำนวนทั้งหมด 21 ประเภท ส่วนใหญ่เป็นประเภทแยกเป็นประเภทอุตสาหกรรมการเกษตร จำนวน 215 แห่งรองลงมาได้แก่อุตสาหกรรมอาหาร 123 แห่ง และอุตสาหกรรมขนส่ง 111 แห่ง ในปี 2553 จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 4.42 และเงินทุนเพิ่ม ร้อยละ 11.80 เนื่องจากผู้ประกอบการยังมั่นใจในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมและการสนับสนุนช่วยเหลือจากภาครัฐรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ
การพาณิชยกรรม
การพาณิชยกรรม ในปี 2551 มีผู้ประกอบการซึ่งยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลประเภทต่าง ๆ จำนวน 155 ราย (ไม่รวมที่เลิก รับมา โอนไป) ลดลงคิดเป็นร้อยละ 27.05 จากปีก่อน เงินทุน จดทะเบียน 262.87 บาท เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 41.02 แยกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด 91 ราย บริษัท จำกัด 64 ราย ธุรกิจที่ขอจดทะเบียนส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทรับเหมาก่อสร้าง ขายส่ง ขายปลีก การจดทะเบียนพาณิชย์ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนจำนวน 1,328 ราย ลดลงคิดเป็นร้อยละ 36.91 ส่วนใหญ่เป็นประเภทขายปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค จังหวัดสุพรรณบุรีมีผู้จดทะเบียนนิติบุคคลประกอบธุรกิจที่ยังคงอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 2,065 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 8.46 โดยมีผู้ประกอบธุรกิจห้างหุ้นส่วนสามัญ 21 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1,341 ราย และบริษัทจำกัด 702 ราย และบริษัทมหาชน1 ราย
ข้อมูล : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุพรรณบุรี
แรงงานและอาชีพ
แรงงาน ในปี พ.ศ. 2551 จังหวัดสุพรรณบุรีมีประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน / วัย แรงงาน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ในปี 2551 จำนวน 731,092 คน ผู้อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 530,120 คิดเป็นร้อยละ 72.51 ของผู้อยู่ในวัยแรงงาน และผู้อยู่นอกกำลังแรงงานจำนวน 200,972 คน หรือ ร้อยละ 27.45 ของวัยแรงงานทั้งหมดและผู้ไม่อยู่ในวัยทำงานมีอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 113,406 คน คิดเป็นร้อยละ 15.51 ของผู้อยู่ในวัยทำงาน อาชีพที่สำคัญของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี คือ การประกอบอาชีพการเกษตรกรรม มีการทำนาข้าว การปลูกพืชไร่ ได้แก่อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาชีพรับจ้างและการประกอบธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางบริการด้วย จากการรายงานของสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรากฏว่า ในปี 2552p จังหวัดสุพรรณบุรี มีมูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด GPP ตามราคาประจำปี 64,480.8 ล้านบาท มูลค่ารวมผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว(Per Capita GPP) 72,269 บาท รายได้เฉลี่ยต่อหัวในลำดับที่ 6 ของภาคตะวันตก และอยู่ในอันดับที่ 41 ของประเทศ เมื่อพิจารณาด้วยสาขาการผลิตที่ทำ รายได้ให้แก่จังหวัดมากที่สุด คือ สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ ซึ่งมีมูลค่าจำนวน18,931.3 ล้านบาท (ร้อยละ 29.4 ของมูลค่าทั้งหมด) รองลงมา คือสาขา การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ ซึ่งมีมูลค่า จำนวน 13,467.1 ล้านบาท (ร้อยละ 20.9) และสาขาการผลิตอุตสาหกรรม จำนวน 8,432 ล้านบาท (ร้อยละ 13.1)
การปศุสัตว์
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดล้อมรอบไปด้วยภูเขา เหมาะสำหรับเป็นแหล่งของปศุสัตว์ ประชากรจึงมีอาชีพด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ รองจากการทำการเกษตร สัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ และเป็ด รวมทั้งมีฟาร์มเพาะเลี้ยงนับพันฟาร์ม เนื่องจากสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวย แต่ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงลดลง จากปัญหาโรคระบาดและไข้หวัดนกในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาทำให้พื้นที่เลี้ยงไก่และเป็ดลดลง
การประมง
จังหวัดสุพรรณบุรีไม่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล การประมงของจังหวัดจึงมีแต่การประมงน้ำจืดและการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม กุ้งขาว โดยมีการเลี้ยงกันมาแถบอำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งมีแนวเขตติดต่อกันเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่มีลำคลองหลายสาย และอยู่ใกล้เมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ปลาน้ำจืดที่เลี้ยง ได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อนปลา สวาย ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิดและปลาเบญจพรรณ ซึ่งจำแนกการเลี้ยงได้ 2 วิธี
1.การเลี้ยงปลาน้ำจืดเป็นรายได้หลัก ได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน และปลาเบญจพรรณ
2.การเลี้ยงปลาน้ำจืดเป็นผลพลอยได้ ซึ่งได้แก่ การเลี้ยงปลาหลายชนิดในบ่อเดียวกัน พร้อมกับเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงไก่ โดยจะปล่อยลูกปลาเลี้ยงรวมในบ่อเดียวกัน อาหารที่จะใช้เป็นมูลไก่และเศษอาหารที่หล่นลงในบ่อ ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด และเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี ประมงน้ำจืด มีพื้นที่ทำการประมงน้ำจืดเลี้ยงปลาในฟาร์มจำนวน 9,212 ฟาร์ม จำนวน 51,522 ไร่ การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและกุ้งขาว จำนวน 3,059 ฟาร์ม 37,404 ไร่ การเลี้ยง ปลา กุ้งจะเลี้ยงกันมากในอำเภอบางปลาม้า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และอำเภอสองพี่น้อง
แหล่งที่มาข้อมูล: https://www.suphan.go.th/content-10-422.html